จากชายขอบสู่ศูนย์กลาง: ถึงเวลาทบทวนภูมิทัศน์สื่อไทย
เสรีภาพสื่อและเสรีภาพในการแสดงออกของประเทศไทยกำลังถูกบีบคั้นอย่างหนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งผ่านตัวบทของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย สื่อมวลชนที่กำลังเติบโตต้องประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ นานา ในขณะเดียวกับพื้นที่สาธารณะ สำหรับการแสดงออกทางความคิดและการโต้แย้งอภิปรายอย่างเสรี รวมถึงพื้นที่ปลอดภัยก็กำลังถดถอยลง ส่งผลให้ประเด็นปัญหาทางสังคมที่มักเกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นถูกทำให้เงียบหาย หมักหมม ทับถม หรือก่อให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จขึ้นมาได้
ประเทศไทยมีสื่อมวลชนที่หลากหลายและมีชีวิตชีวา การศึกษาวิจัยต่าง ๆ ก็แสดงให้เห็นว่าสื่อมวลชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก มีแนวโน้มที่จะรายงานข่าวตามกระแสและพึ่งพาแหล่งข่าวจากภาครัฐหรือผู้มีอำนาจทางสังคมหรือการเมืองมากเกินไป การรายงานข่าวเชิงลึกที่มีความรอบด้านและครอบคลุมจากการสัมภาษณ์แหล่งข่าวที่มีประสบการณ์ตรงเพื่อพยายามอธิบายความซับซ้อนของเหตุการณ์และแรงจูงใจต่าง ๆ ด้วยการใส่แง่มุมความเห็นจากหลากหลายฝ่ายลงไปนั้นมักไม่มีพื้นที่ข่าว ยิ่งกลุ่มคนเปราะบางและคนชายขอบจำนวนมากก็ถูกหลงลืมไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริมมายาคติที่ลดทอนความซับซ้อนของบริบทไปด้วย
อีกปัญหาหนึ่งที่สื่อพบก็คือความปลอดภัย โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง การใช้ความรุนแรงต่อผู้สื่อข่าวนั้นมักไม่ได้รับการเจาะลึก การคุกคามทางกายและวาจาต่อผู้สื่อข่าวหญิง รวมถึงการคุกคามผ่านสื่อออนไลน์ต่างถือเป็นภัยต่อเสรีภาพสื่อมวลชน ผู้สื่อข่าวที่อยู่ในจังหวัดชายแดนใต้หรือผู้ที่ทำรายงานข่าวเชิงสืบสวนเกี่ยวกับอำนาจรัฐและผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น กรณีประเด็นความขัดแย้งทางทรัพยากร มักเจอกับการคุกคาม การฟ้องร้องดำเนินคดี และการถูกคุมขังโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวอิสระและผู้สื่อข่าวออนไลน์ก็เป็นกลุ่มที่ต้องแบกรับความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ เนื่องจากไม่ได้รับการรับรองจากรัฐและไม่ได้รับการคุ้มครองจากองค์กรต่าง ๆ
ท่ามกลางภูมิทัศน์สื่อที่มุ่งความสนใจเกือบทั้งหมดมาที่กรุงเทพฯ เยาวชนรุ่นใหม่จากกลุ่มชายขอบต่างเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม เสรีภาพในการแสดงออก ความขัดแย้งของชุมชน และกระบวนการยุติธรรมแบบหลายมาตรฐาน เยาวชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งหลายคนเป็นผู้หญิง ผันตัวเองมาทำสื่อออนไลน์เพื่อบอกเล่าเรื่องราวจากภูมิภาคบ้านเกิด พวกเขาและเธอมีความตื่นตัวกระตือรือร้นในการทำข่าวที่มีความเป็นภูมิภาคนิยมและเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมสูงขึ้น
ด้วยเหตุนี้ โครงการวารสารศาสตร์ที่สร้างสะพานจึงถือกำเนิดขึ้น โครงการนี้จะมีระยะเวลารวม 18 เดือน และได้รับการสนับสนุนจาก สถานทูตเนเธอร์แลนด์ สถานทูตฟินแลนด์ สถานทูตนิวซีแลนด์ รวมถึงโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมเครือข่ายนักข่าวพลเมืองรุ่นใหม่ 50 คนจากทั่วประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เพื่อรายงานข่าวเจาะลึก ข่าวที่สร้างพลังบวกที่มีความเที่ยงตรงได้อย่างยั่งยืนและปลอดภัย โครงการมีความมุ่งหวังจะช่วยเพิ่มพื้นที่การนำเสนอประเด็นปัญหาสังคมในท้องถิ่น ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาในระบบยุติธรรมและความขัดแย้งในชุมชน โดยเน้นเรื่องราวผู้คนเป็นหลักและมีความเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนทางเพศภาวะ
Citizen+ (ซิติเซ่นพลัส) และมูลนิธิเพื่อการศึกษาและสื่อภาคประชาชนอีสาน (FIEPM) มีความยินดีที่จะเชิญชวนสื่อมวลชนมืออาชีพมาร่วมอภิปรายถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่สื่อมวลชนของไทยกำลังเผชิญในปัจจุบันและพบปะกับนักข่าวพลเมืองรุ่นใหม่จากทั่วประเทศ กิจกรรมนี้จะนำเสนอและอภิปรายถึงงานวิจัยเกี่ยวกับภูมิทัศน์สื่อไทย อุปสรรคและโอกาสต่างๆ โดยมุ่งเน้นความสนใจไปที่ผู้ประกอบการสื่ออิสระ ผู้เชี่ยวชาญจะพูดคุยถึงอนาคตของสื่อไทย ความสำคัญของโครงการนี้ รวมถึงเหตุผลที่ควรมีการรับฟังเสียงสะท้อนจากภูมิภาคต่างๆ ในไทยให้มากยิ่งขึ้น
วันและเวลาจัดกิจกรรม:
วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 น. ถึง 16.30 น.
สถานที่จัดกิจกรรม:
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1
ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊ก:
ภาษาไทย: @citizenthaipbs, @wartanimap, @IsaanRecordThai, @lanner2022 และ @Prachatai
ภาษาอังกฤษ: @unescobangkok, @undpthailand และ @uninthailand
#EndImpunity #ProtectJournalists
กำหนดการจัดกิจกรรม
10.00-11.00 น. ช่วงที่ 1
- เปิดตัวโครงการวารสารศาสตร์ที่สร้างสะพาน (JBB) โดย นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาและสื่อภาคประชาชนอีสาน
- ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดและความปลอดภัยของนักข่าว” โดย โจ ฮิโรนากะ หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารและสารสนเทศ ยูเนสโก กรุงเทพฯ
- แสดงทัศนะโดยเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย
- แสดงทัศนะโดยเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ ประจำประเทศไทย
- แสดงทัศนะ โดยเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย
- นำเสนอผลงานและอภิปรายผลงานวิจัยหัวข้อ “ภูมิทัศน์สื่อไทย : ความท้าทายและโอกาส” “Thai Media Landscape: Challenges and Opportunities” โดย ผศ.ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
- ดำเนินรายการโดย ธีรนัย จารุวัสตร์ ผู้สื่อข่าวประชาไท ภาคภาษาอังกฤษ
11.00-11.15 น. พัก
11.15-13.00 น. ช่วงที่ 2: เสวนาหัวข้อ “ภูมิทัศน์สื่อไทย…จะไปยังไงต่อ”
ผู้ร่วมเสวนา
- สมเกียรติ จันทสีมา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ThaiPBS
- อรพิน เหตระกูล เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
- ณรรธราวุธ เมืองสุข ตัวแทนจากสมาพันธ์สื่อเพื่อประชาธิปไตย (DemAll)
- มงคล บางประภา นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
- ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
- ดำเนินรายการโดย ภานุ วงศ์ชะอุ่ม นายกสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ประจำประเทศไทย (FCCT)
13.00-13.40 พักเที่ยง
13.40-16.30 ช่วงที่ 3 เสวนาหัวข้อ “ทำไมสื่อต้องสร้างสะพานเชื่อมผู้คน : เสียงที่ควรได้ยิน”
ผู้ร่วมเสวนา
- จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ อดีตผู้ดำเนินรายการ “ถามตรงๆ กับจอมขวัญ” ทางช่องไทยรัฐ ทีวี
- รุสลาน มูซอร์ บรรณาธิการบริหารสำนักสื่อวาร์ตานี
- อ.ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
- วัชรพล นาคเกษม บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวลานเนอร์
- เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวประชาไท
คอมเมนเตเตอร์
- ดร.สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี
- ผศ.ดร.ภัทรา บุรารักษ์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ดำเนินรายการโดย หทัยรัตน์ พหลทัพ บรรณาธิการบริหาร The Isaan Record
หมายเหตุ : การเสวนาเป็นภาษาไทยและมีล่ามแปลเป็นภาษาอังกฤษ