fbpx กฎหมาย งบประมาณ และปฏิบัติการด้านความเสมอภาคทางการศึกษา | UNESCO Regional Office in Bangkok

กฎหมาย งบประมาณ และปฏิบัติการด้านความเสมอภาคทางการศึกษา

Banner for Laws, Budget, and Actions of Equitable Education webinar

กฎหมาย งบประมาณ และปฏิบัติการด้านความเสมอภาคทางการศึกษา

การประชุมย่อยของการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 (2nd Asia-Pacific Regional Education Minister’s Conference (APREMC-II)

จัดโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.), ยูนิเซฟ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (UNICEF EAPRO), องค์การยูนิเซฟประเทศไทย (UNICEF Thailand), องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO), Save the Children และยูเนสโก กรุงเทพฯ สำนักงานเพื่อการศึกษาส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (UNESCO Asia and Pacific Regional Bureau for Education)

จากวาทศาสตร์ไปสู่ผลลัพธ์

ก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 เด็กประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย 259 ล้านคนทั่วโลก ถูกจัดว่าเป็นเด็กที่ยังคงไม่ได้รับการศึกษาเนื่องจากอุปสรรคทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตัวเลขนี้แสดงถึงจำนวนเด็กในวัยประถมศึกษารวมกัน 59 ล้านคน เด็กมัธยมศึกษาตอนต้น 62 ล้านคน และมัธยมศึกษาตอนปลาย 138 ล้านคน ความยากจนยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ เด็กจากครัวเรือนที่ยากจนที่สุดมีแนวโน้มที่จะออกจากโรงเรียนประถมศึกษามากกว่าเด็กที่ร่ำรวยที่สุดเกือบ 5 เท่า เด็กกลุ่มอื่นๆ ที่มักไม่ได้รับการศึกษา ได้แก่ เด็กที่มีความพิการ เด็กจากชนกลุ่มน้อย และเด็กผู้หญิง หลักฐานบ่งชี้ว่าความเท่าเทียมกันทางเพศในการศึกษาระดับประถมศึกษามีอยู่เพียงสองในสามของทุกประเทศ ซึ่งมาตรฐานทางเพศเชิงลบส่งผลกระทบต่อทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย ภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในเรื่องนี้ เด็กในชนบทและผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือสงครามขาดเรียนชั้นประถมศึกษาในอัตรา 2 เท่าของเด็กจากตัวเมือง เป็นผลให้เด็ก 27 ล้านคนทั่วโลกถูกกีดกันจากการศึกษา ซึ่งสังเกตได้ว่านับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เมื่อสองปีที่แล้ว จำนวนเด็กนอกโรงเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 4 เป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าว ความเสมอภาคทางการศึกษานั้นเป็นแนวความคิดที่ได้รับการยินยอมและสนับสนุนโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด อย่างไรก็ตามในหลายประเทศไม่มีการปฏิบัติหรือปลูกฝังความเสมอภาคทางการศึกษาในระบบการศึกษาปัจจุบัน เพื่อจัดการกับความยากลำบากเหล่านี้ในประเทศไทย รัฐบาลไทยได้จัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในปี 2561 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กสศ. ได้ดำเนินการอย่างแข็งขันไม่เพียงแต่ในการส่งเสริมการศึกษาอย่างเท่าเทียมในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนและแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านความเสมอภาคทางการศึกษาทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติอีกด้วย กสศ. ได้จัดกิจกรรมระดับนานาชาติ [1] และนำไปสู่การก่อตั้งสหพันธ์ความเสมอภาคทางการศึกษาหรือ Equitable Education Alliance (EEA) [2]

จากผลของกิจกรรมระดับนานาชาติและการอภิปรายล่าสุดที่จัดทำโดย EEA การประชุมย่อยที่ยูเนสโกเป็นเจ้าภาพเรื่อง “กฎหมาย งบประมาณ และปฏิบัติการด้านความเสมอภาคทางการศึกษา” จะเน้นข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับวิธีการตรากฎหมายการศึกษาที่เสมอภาค รับรองงบประมาณสาธารณะ และดำเนินการเพื่อเปลี่ยนระบบการศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไปสู่แนวทางที่มีความเสมอภาคมากขึ้น แนวทางปฏิบัติที่มีแนวโน้มในเชิงบวก รวมถึงกรณีศึกษาระดับภาคพื้นดินจะถูกนำเสนอและหารือกับผู้นำเสนอหลักทั้งสามท่านจากประเทศฟินแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศไทย

จุดประสงค์ของการประชุมย่อย

สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านกรอบกฎหมาย งบประมาณสาธารณะ และ การกระจายอำนาจกลไกการบริหารจัดการโดยมีท้องถิ่นเป็นผู้นำ

คำถามสำคัญและจุดเสวนา

  1. เราจะตรากฎหมายหรือสร้างระบบการศึกษาอย่างเสมอภาคได้อย่างไร?
  2. เราจะกระจายงบประมาณการศึกษาอย่างเสมอภาคได้อย่างไร?
  3. เราจะสนับสนุนครูให้ตระหนักถึงศักยภาพของเด็กที่มีภูมิหลังและบริบทที่หลากหลายผ่านกลไกการศึกษาแบบกระจายอำนาจได้อย่างไร?

ผู้นำเสนอลำดับที่ 1: พระราชบัญญัติด้านความเสมอภาคทางการศึกษาในประเทศไทยและการดำเนินการ
ดร. ไกรยส ภัทราวาท

ผู้จัดการ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

ผู้นำเสนอลำดับที่ 2: การจัดสรรทรัพยากรโดยเสมอภาค
Mr John Brooker
ผู้จัดการกลุ่ม
การลงทุนระบบการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศนิวซีแลนด์

ผู้นำเสนอลำดับที่ 3: ความเสมอภาคในทางปฏิบัติ - ตัวอย่างจากฟินแลนด์
Ms Sanna Takala
ที่ปรึกษาทางด้านทางพัฒนา
สถานเอกอัครราชทูตฟินแลนด์

วันและเวลา:
6 มิถุนายน 2565, 12:45-13:45 น. (เวลาประเทศไทย)

รูปแบบการประชุม:
การประชุมแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างผู้เข้าร่วมด้วยตนเองถึง 60 ท่านที่ลงทะเบียนงานประชุม APREMC II ตามที่ได้รับการเชิญเท่านั้น และผู้เข้าร่วมประชุมทางออนไลน์มากกว่า 100 ท่าน

ภาษาที่ใช้ในการประชุม:
ภาษาอังกฤษ โดยมีคำแปลภาษาไทยตลอดการประชุม

สถานที่จัดงาน:
โรงแรม Shangri-La กรุงเทพฯ (ห้อง Chao Phraya ชั้น 1)

ลงทะเบียนได้ที่:
https://unesco-org.zoom.us/meeting/register/tZUudu-opzIrGtI9Fo6nge8Dl4MqcnXQoGj_

ดาวน์โหลดไฟล์สื่อประกอบการนำเสนอและอื่น ๆ :
https://eduimpactmaterial.getresponsepages.com/

เรียนรู้เพิ่มเติม:

ความเสมอภาคทางการศึกษาในฟินแลนด์

ความเสมอภาคทางการศึกษาในไทย

ความเสมอภาคทางการศึกษาในนิวซีแลนด์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ได้ที่ eisd.bgk(at)unesco(dot)org

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

[1] การประชุมที่กสศ. จัดขึ้นร่วมกับพันธมิตรต่างๆ (รายละเอียดตามลิงค์ด้านล่าง) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมรวม 2,424 คน จากกว่า 70 ประเทศ และมีผู้ชมออนไลน์กว่า 38,800 คน
การประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยครูและความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2564: https://afe2021.eef.or.th/
การประชุมนานาชาติด้านความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2563: https://afe.eef.or.th/

[2] สหพันธ์ความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ซึ่งเป็นชุมชนผู้ปฏิบัติงาน ในปัจจุบันประกอบด้วยหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐ 15 แห่ง และผู้สนับสนุนด้านเทคนิคอื่นๆ ที่ได้ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาในประเทศของตน (https://equity-ed.net/) วิทยากรสำหรับงานนี้ทั้งหมดเป็นสมาชิกของ EEA

Event