fbpx การประชุมพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ครั้งที่ 6: การปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคเพื่อจัดสรรห้องเรียนที่ครอบคลุมทุกคน | Multisectoral Regional Office in Bangkok

การประชุมพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ครั้งที่ 6: การปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคเพื่อจัดสรรห้องเรียนที่ครอบคลุมทุกคน

การประชุมพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ครั้งที่ 6: การปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคเพื่อจัดสรรห้องเรียนที่ครอบคลุมทุกคน

ภูมิหลัง

พันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 เป็นชุมชนของนักปฏิบัติการจากองค์กรต่าง ๆ กระทรวงและหน่วยงานรัฐ ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งพยายามผลักดันไปสู่ระบบการศึกษาที่ครอบคลุมและเสมอภาคมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพในทุกระดับให้กับองค์กรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีอยู่แล้ว EEA จัดการประชุมอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปีเพื่อหารือและยกระดับความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านความพยายามร่วมกัน มีทั้งหมด 13 ประเทศและ 15 องค์กรท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศที่เข้าร่วมประชุมและแบ่งปันความเชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคในระบบการศึกษา โดยอาศัยความเชี่ยวชาญหลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1) กรอบกฎหมายและการพัฒนาด้านนโยบาย 2) กลไกการจัดทำงบประมาณและการจัดหาเงินทุน 3) ระบบการจัดบริการและดำเนินการ 4) การติดตามและประเมินผล

การประชุมพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ครั้งที่ 6

การประชุม EEA ครั้งที่ 6 มุ่งเน้นไปที่ 'ระบบการจัดบริการและดำเนินการ' เพื่อวางแนวปฏิบัติที่อิงตามหลักฐานในโรงเรียนและห้องเรียน ตลอดจนโครงการในระดับจังหวัดและที่เจาะจงตามพื้นที่เพื่อจัดการกับความท้าทายต่อความเสมอภาคทางการศึกษาจากระดับรากหญ้า การประชุมแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนสำหรับบุคคลทั่วไปและส่วนสำหรับสมาชิก EEA โดยเฉพาะ การประชุมครั้งที่ 6 นี้จะบ่งชี้ถึงโอกาสในการทำงานร่วมกัน ตลอดจนผู้ที่สามารถเป็นสื่อกลางและรวมตัวกันทำหน้าที่เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาก้าวต่อไปของ EEA และวางแผนกิจกรรมหลักสำหรับปี พ.ศ. 2566

เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลความเสมอภาคทางการศึกษา (EquityEdHub หรือ EEH) เปิดตัวในปี พ.ศ. 2565 เป็นศูนย์กลางในการแบ่งปันความรู้เพื่อให้ผู้เรียนจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายของความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งก็คือการบรรลุเป้าหมายของ EEA ในการยกระดับความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านความพยายามร่วมกัน และการมอบการสนับสนุนที่มีแก่นสารในด้านเทคนิคให้กับผู้ที่ต้องการ

คำถามและประเด็นการสนทนาที่สำคัญ

  1. พิจารณาการเสริมสร้างขีดความสามารถในความเชี่ยวชาญหลัก 1 ใน 4 ด้าน: ระบบการจัดบริการและดำเนินการ
  2. พิจารณาโครงการริเริ่มในการเป็นกระบอกเสียงให้กับแนวปฏิบัติที่อิงตามหลักฐานในโรงเรียนและห้องเรียน ตลอดจนโครงการในระดับจังหวัดและที่เจาะจงตามพื้นที่เพื่อจัดการกับความท้าทายต่อความเสมอภาคทางการศึกษาจากระดับรากหญ้า
  3. เผยแพร่การแลกเปลี่ยนความรู้จากกรณีศึกษาและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดจากทั่วโลกเพื่อรับมือกับความท้าทายในระดับท้องถิ่น

ผู้นำเสนอ

ผู้นำเสนอท่านที่ 1: แนวปฏิบัติที่อิงตามหลักฐานในโรงเรียนและห้องเรียน
คุณเคท กริฟฟิธส์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย
องค์การวิจัยด้านการศึกษาแห่งออสเตรเลีย (AERO)

ผู้นำเสนอท่านที่ 2: การนำการติดตามเด็กแบบมุ่งเน้นกระบวนการเข้าสู่ระบบการศึกษาปฐมวัยในเวียดนาม
คุณเคลซีย์ คาร์ลตัน ที่ปรึกษาด้านการศึกษาเชิงยุทธศาสตร์
VVOB – การศึกษาเพื่อการพัฒนา

ผู้ดำเนินรายการ

คุณปิยาภา สุอังคะวาทิน ผู้จัดการด้านการจัดการความรู้
สำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO)

วันและเวลา
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ออนไลน์ เวลา 13.30 – 14.40 น. (ตามเวลาในไทย)

รูปแบบการประชุม
ประชุมผ่าน Zoom พร้อมล่ามแปลภาษาอังกฤษ-ไทย และถ่ายทอดสดผ่านหน้าเฟซบุ๊ก กสศ. (ภาษาไทย) และ หน้าเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูลความเสมอภาคทางการศึกษา (ภาษาอังกฤษ)

ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมส่วนที่เปิดสำหรับบุคคลทั่วไปได้แล้วตั้งแต่บัดนี้!
https://unesco-org.zoom.us/webinar/register/WN_8fDxmZUKSYOQAz17EE6ASA


หากองค์กรของท่านทำงานและ/หรือให้การสนับสนุนด้านเทคนิคเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และมีความประสงค์ที่จะได้รับการพิจารณาให้เป็นสมาชิกของพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) อย่างเป็นทางการ และมีสิทธิ์เข้าร่วมการประชุมเฉพาะสมาชิกในการประชุมครั้งที่ 6 โปรดติดต่อ คุณปพล วุฒิไกรเกรียง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่โครงการ การรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยูเนสโก กรุงเทพฯ ได้ที่ p.dhutikraikriang(at)unesco(dot)org

Event
-