fbpx ข่าวประชาสัมพันธ์ - นิทรรศการ Internet Universality Beyond Words และการเสวนาเกี่ยวกับเสรีภาพทางศิลปะ | Multisectoral Regional Office in Bangkok

ข่าวประชาสัมพันธ์ - นิทรรศการ Internet Universality Beyond Words และการเสวนาเกี่ยวกับเสรีภาพทางศิลปะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ - นิทรรศการ Internet Universality Beyond Words และการเสวนาเกี่ยวกับเสรีภาพทางศิลปะ

[English]

เราจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นถึงอินเทอร์เน็ตที่เสรี เปิดกว้าง และสามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคนได้อย่างไร เราจะตระหนักถึงศักยภาพการแสดงออกในโลกออนไลน์และปฏิสัมพันธ์ในการสร้างวิสัยทัศน์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร อะไรคือการกระทำที่ส่งอิทธิพลในทางบวกต่อเสรีภาพทางศิลปะและการสร้างสรรค์ในประเทศไทย

เนื่องในโอกาสวันที่ระลึกสากลแห่งการเข้าถึงข้อมูลสำหรับทุกคน (International Day for Universal Access to Information) ในวันที่ 28 กันยายน องค์การยูเนสโกเปิดตัวนิทรรศการที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) โดยแสดงผลงานของศิลปินและนักสร้างสรรค์เนื้อหาจำนวน 11 คน ที่ทำงานร่วมกันโดยให้ความสำคัญกับแนวคิดอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกคน (Internet Universality) ขององค์การยูเนสโก นิทรรศการเรียกร้องให้มีอินเทอร์เน็ตใช้งานสำหรับทุกคน และตั้งอยู่บนหลักพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ สิทธิมนุษยชน (R) ความเปิดกว้าง (O) ความสามารถในการเข้าถึงได้ (A) และ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (M) ซึ่งเรียกกันว่าหลักการ ROAM
ผลงานที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการ ประกอบด้วย

  • My Virtual Playground ผลงานชุดหนังสือภาพประกอบ เรื่องราวเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต และการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยอาศัยผลจากการสำรวจออนไลน์
  • วิดีโอสารคดีสำรวจผลกระทบของกฎหมายที่มีต่อเสรีภาพในการแสดงออกทางออนไลน์ เพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความเข้าใจผิดที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกคน (Internet Universality)
  • หนังสือภาษา+ไทย นำเสนอระดับของการมองเห็นของประเทศไทยผ่านภาษาต่างๆ ที่ใช้บนสื่ออินเทอร์เน็ต
  • Watch! ผลงานประติมากรรม ที่สร้างจากภาพต่างๆ จากข่าวในประเทศไทย โดยตั้งคำถามถึงการมีส่วนร่วมของพลเมืองผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต
  • ผลงานวิดีโอเกี่ยวกับ memes ที่สามารถนำมาใช้เป็นภาษารหัสในประเทศไทยเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และทางการเมืองที่ถูกห้าม
  • โครงการของนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่วิเคราะห์จุดบรรจบกันระหว่างอินเทอร์เน็ตและการปฏิบัติงานแบบหัตถกรรมดั้งเดิมที่เพชรบุรีและย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ

panel%20full-revised.jpg

การเสวนาก่อนเปิดนิทรรศการ ดำเนินรายการโดย Sali Sasaki ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ ซึ่งจะเน้นเรื่องเสรีภาพทางศิลปะ และการมีส่วนร่วมสนับสนุนของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม (ค.ศ. 2005) ที่จะตั้งคำถามถึงความท้าทายที่ภาคการสร้างสรรค์ในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ผู้เข้าร่วมแสดงงานในนิทรรศการ Duong Bich Hanh และ Misako Ito จากองค์การยูเนสโก และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ได้แก่ สรยศ ประภาพันธ์ เป็นเอก รัตนเรือง และ อนุชา บุญยะวรรธนะ

ทั้งนี้สอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 การจัดนิทรรศการในวันที่ 28 กันยายน ได้เน้นถึงความมุ่งมั่นระหว่างประเทศเพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการได้ นิทรรศการเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน ถึง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ตั้งแต่เวลา 10:30-21:00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์

งานเสวนา วันที่ 28 กันยายน เวลา 16:00 น. ณ ห้องฟังก์ชั่น ชั้น 4 TCDC
งานเปิดงานนิทรรศการ วันที่ 28 กันยายน  เวลา 17:30 น. ณ สวนดาดฟ้า ชั้น 5 TCDC

 

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
1160 ถ. เจริญกรุง บางรัก กรุงเทพฯ

สนใจเข้าร่วมกิจกรรม กรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ Ms. Oksana Iatsenko (o.iatsenko@unesco.org)
ดาวน์โหลดโปรแกรมกิจกรรมได้ที่นี่

ระยะเวลานิทรรศการ
28 กันยายน -14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Event
-