fbpx การเสวนาเรื่องมรดกที่ยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์ | Multisectoral Regional Office in Bangkok

การเสวนาเรื่องมรดกที่ยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์

การเสวนาเรื่องมรดกที่ยั่งยืนของกลุ่มชาติพันธุ์

เมษายน - พฤษภาคม - มิถุนายน 2564

ยูเนสโก กรุงเทพฯ ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดชุดการเสวนาในเรื่องโอกาสและความท้าทายของกลุ่มชาติพันธุ์กับมรดกที่ยั่งยืน การเสวนานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างการสนทนาระหว่างผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการ ตลอดจนผู้สนับสนุนสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อต่อยอดความรู้ นโยบาย และแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในประเทศไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

การเสวนา 3 ครั้งแรกจะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ว่าด้วยมาตรฐานสากลและแนวปฏิบัติที่ดีจากทั่วเอเชียในการกำกับดูแลพื้นที่คุ้มครองแบบทั่วถึง ภูมิปัญญาพื้นบ้านและความยั่งยืนของระบบนิเวศ ตลอดจนการปกป้องมรดกภูมิปัญญาที่มีชีวิตทั้งภาคพื้นดินและภาคพื้นทะเล  การเสวนาครั้งสุดท้ายมุ่งจะสร้างแรงขับเคลื่อนต่อจากร่างกฎหมายไทยฉบับใหม่ว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยจะให้มุมมองระหว่างประเทศเกี่ยวกับร่างกฎหมายและเสนอแนะขั้นตอนต่อไปสำหรับประเทศไทย

การเสวนาชุดนี้เป็นการเสวนาแบบออนไลน์ เปิดให้ผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมจากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีล่ามแปลภาษาไทยด้วย


การเสวนา ครั้งที่ 1: แนวปฏิบัติที่ดีในการกำกับดูแลพื้นที่คุ้มครองแบบทั่วถึง

(23 เมษายน 2564 เวลา 09.00-11.00 น. ตามเวลาในประเทศไทยทางออนไลน์)

  • การแนะนำชุดการเสวนาและหัวข้ออภิปรายในแต่ละครั้ง (ยูเนสโก กรุงเทพฯ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • การสนับสนุนการกำกับดูแลแหล่งมรดกโลกแบบมีส่วนร่วมในโครงการ “การจัดการพื้นที่คุ้มครองโดยชุมชน” (COMPACT) (Terence Hay-Edie, โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNDP / กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก GEF)
  • “การสะท้อนแนวทางอนุรักษ์ธรรมชาติบนพื้นฐานของสิทธิ” กรณีศึกษาการจัดการแบบมีส่วนร่วมในแหล่งมรดกโลกมนัส ประเทศอินเดีย (Sonali Ghosh, องค์การกลางสวนสัตว์แห่งประเทศอินเดีย)
  • รายชื่อพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์สีเขียวขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN): มาตรฐานความยั่งยืนระหว่างประเทศฉบับใหม่ที่รับรองความเป็นเลิศในการจัดการการอนุรักษ์ตามพื้นที่ (Scott Perkin, IUCN)
  • การอภิปรายร่วม (โดย ยูเนสโก)

ร่วมการเสวนาถ่ายทอดสดทาง Zoom (Passcode: 787152) หรือ Facebook LIVE @unescobangkok, @sac.anthropology หรือ @chula.cusri.

Session 1     Session 1

 

 

การเสวนา ครั้งที่ 2: ภูมิปัญญาและความยั่งยืนของระบบนิเวศ

(7 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00-11.30 น. ตามเวลาในประเทศไทยทางออนไลน์)

  • การแนะนำชุดการเสวนาและงานที่เกี่ยวข้องของศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร (โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร) (10 นาที)
  • การแนะนำหัวข้ออภิปรายเรื่องภูมิปัญญาและความยั่งยืนของระบบนิเวศ (ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล) (10 นาที)
  • คำอาลัยแด่ ดร.เฮเทอร์ ปีเตอร์ส (Richard Engelhardt)
  • ผู้พิทักษ์หรือผู้ทำลาย? องค์ความรู้พื้นเมืองและความยั่งยืนทางระบบนิเวศ : อุทิศแด่ ดร.เฮเทอร์ ปีเตอร์ส (Koen Meyers, Sumatran Orangutan Society) (20 นาที)
  • ความเป็นชนพื้นเมืองกับสิทธิการจัดการทรัพยากร (ประสิทธิ์ ลีปรีชา, ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา/มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (20 นาที)
  • เจ้าของแบบดั้งเดิมและแนวทางตามสิทธิสำหรับภูมิทัศน์วัฒนธรรม Budj Bim ระบบการจัดการความรู้แบบ "สองทาง" (Erin Rose, Budj Bim World Heritage Landscape, Australia) (20 นาที)
  • การปกป้องระบบมรดกทางการเกษตรที่สำคัญระดับโลก (Yoshihide Endo, FAO) (20 นาที)
  • การอภิปรายร่วมโดย ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (30-45 นาที)

ร่วมการเสวนาถ่ายทอดสดทาง Zoom (Passcode: 787152) หรือ Facebook LIVE @unescobangkok, @sac.anthropology หรือ @chula.cusri.

Session 2  Session 2

 

การเสวนา ครั้งที่ 3: การอนุรักษ์ทรัพยากรและวัฒนธรรมทางทะเล: บทบาทของชุมชน

(21 พฤษภาคม 2564 เวลา 15.00-17.00 น. ตามเวลาในประเทศไทยทางออนไลน์)

•    การแนะนำชุดการเสวนาและการเสวนาครั้งที่ 3 (สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) (10 นาที)
•    โครงการยูเนสโกเรื่องระบบภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาพื้นเมือง (Nigel Thomas Crawhall  หัวหน้าฝ่ายเกาะเล็กและภูมิปัญญา ยูเนสโก) (20 นาที)
•    พื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่จัดการโดยผู้หญิงและสิทธิการอนุรักษ์ทางทะเล (Rosita Eguia, ประธานพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่จัดการโดยผู้หญิง เกาะคาลาวิท จังหวัดปาลาวัน ประเทศฟิลิปปินส์ (20 นาที)
•    ความรู้และวัฒนธรรมท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตัวอย่างจากภาคใต้ของประเทศไทย (ปิ่นสักก์ สุรัสวดี ผู้ตรวจราชการและโฆษกประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) (20 นาที)
•    การบูรณาการการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและการอนุรักษ์ทะเลและป่าไม้ – กลุ่มชาติพันธุ์และการดำเนินการของชุมชน (กิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี ผู้อำนวยการมูลนิธิชนพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม) (20 นาที)
•    การอภิปรายร่วมโดย นฤมล อรุโณทัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (30 นาที)

ร่วมการเสวนาถ่ายทอดสดทาง Zoom (Passcode: 787152) หรือ Facebook LIVE @unescobangkok, @sac.anthropology หรือ @chula.cusri.

Session 2  Session 2

 

การเสวนา ครั้งที่ 4: กลุ่มชาติพันธุ์กับการรับรู้สิทธิด้านทรัพยากรธรรมชาติและมรดกภูมิปัญญาที่มีชีวิต
(18 มิถุนายน 2564 เวลา 14.00-16.30 น. ตามเวลาในประเทศไทยที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรและทางออนไลน์
)

รายละเอียดของการเสวนา

การนำเสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร)

การอภิปรายร่วม: มุมมองจากองค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับร่างกฎหมาย

  • Badar Farrukh (UN Office of the High Commissioner on Human Rights)
  • Maurizio Ferrari (Forest Peoples Programme)
  • Chrissy Grant (International Indigenous People's Forum for World Heritage)  
  • Terence Hay-Edie (UNDP)
  • Chupinit Kesmanee (Asia Indigenous Peoples Pact Foundation Board)

การอภิปรายร่วม: แนวทางในการรับรองสิทธิ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย

  • Sakda Saenmi (Council of Indigenous Peoples in Thailand | Network of Indigenous Peoples in Thailand)
  • Paul Chamniern Worratchaipan (IUCN Thailand)
  • Preeda Kongpan (Office of the National Human Rights Commission of Thailand)
  • Surapong Kongchantuk (Cross Cultural Foundation)

คำกล่าวปิดงาน (SAC-CUSRI-UNESCO)

ร่วมการเสวนาถ่ายทอดสดทาง Zoom (Passcode: 787152) หรือ Facebook LIVE @unescobangkok, @sac.anthropology หรือ @chula.cusri.

Session 4  Session 4

  

Event