ปัญญาประดิษฐ์ (AI) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์บทบาทสำคัญในการช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลในโลกดิจิทัลได้ดีขึ้น การนำเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาปรับใช้กับทุกภาคส่วนขององค์กรของงานบริการในภาครัฐ (Digital transformation of government services) สามารถช่วยเชื่อมช่องว่างทางดิจิทัล ระหว่างคนที่เข้าถึงและคนที่เข้าไม่ถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล โดยช่วยให้ประชาชนโดยทั่วไปเข้าถึงข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงและเปิดกว้าง รวมถึงการเพิ่มความโปร่งใสและการเปิดให้ข้อมูลเข้าถึงได้ง่าย และยังได้รับหลักประกันว่าจะได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการสาธารณะได้แทบจะทันที
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของบริการสาธารณะที่ขับเคลื่อนด้วย AI ก็ทำให้เกิดการตั้งคำถาม เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานและประเด็นทางจริยธรรมของการใช้ AI และ e-Governance
ไทย เวียดนาม และกัมพูชาเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกซึ่งมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในระดับสูง ทั้งสามประเทศมีรูปแบบการพัฒนาการที่คล้ายคลึงกัน คือ มีระดับการพัฒนาที่เติบโตอย่างรวดเร็ว พร้อมกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มขึ้น ช่องว่างความเหลื่อมล้ำนี้กำลังขยายกว้างขึ้นอันเนื่องมาจากผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโควิด-19
เมื่อช่องว่างทางดิจิทัลดังกล่าวผนวกเข้ากับความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจจะมีผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นอันเนื่องมาจากอุปสรรคที่เพิ่มขึ้นในการบังคับใช้หลักธรรมาภิบาลรวมถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล อย่างไรก็ตามเราสามารถทำให้ช่องว่างทางดิจิทัลนี้แคบลงได้ ด้วยการนำแนวคิดของ e-Governance มาใช้ ซึ่งรวมเอาการพัฒนาแอปพลิเคชันและคอนเทนต์ในช่องทางออนไลน์เพื่อ การกระตุ้นเกิดการมีส่วนร่วม และการทำงานร่วมกัน
ในขณะที่ประเทศไทยบังคับใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการมาตั้งแต่ปี 1997 รัฐบาลไทยกำลังผลักดันการเข้าสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิดและเพิ่งอนุมัติยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ AI แห่งชาติของไทยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เวียดนามและกัมพูชากลับยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการนำกฎหมายการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (ATI) ไปใช้ ในกรณีของเวียดนามมีการออกกฎหมาย ATI มาใช้ในปี 2016 ซึ่งทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2018 แต่สำหรับกัมพูชา การพิจารณากฎหมายในสภายังติดอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายซึ่งล่าช้าจากกำหนดการเดิมที่วางแผนว่าจะนำมาใช้ในปี 2021
แม้ว่าประเทศทั้งสามดังที่กล่าวมาแล้วจะอยู่ในขั้นตอนที่ต่างกันในการผ่านร่างกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร แต่ภาคประชาสังคมในทั้งสามประเทศกลับมีประสบการณ์ร่วมกันในการพยายามผลักดันให้ข้อมูลสาธารณะเปิดเผยและโปร่งใสมากขึ้น
ยูเนสโกร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเสวนาสาธารณะเนื่องในโอกาส “วันสากลแห่งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร” โดยเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากฝ่ายต่าง ๆ มาเสวนาแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับสถานะการเข้าถึงข้อมูล รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด และระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับประเด็นจริยธรรมของการใช้ AI ในไทย โดยจะมีการแบ่งปันประสบการณ์จากภาคประชาสังคมและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในไทย เวียดนาม กัมพูชา ในประเด็นว่าข้อมูลสาธารณะที่เปิดกว้างและเข้าถึงได้ช่วยสร้างพื้นที่ของพลเมือง ภาระรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมของสาธารณะได้อย่างไร
กิจกรรมออนไลน์นี้จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถของทั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องในการติดตามและสนับสนุนความก้าวหน้าในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าประสงค์ที่ 16.10 ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยเป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ
ประเด็นแลกเปลี่ยน:
- สถานะปัจจุบันของการเข้าถึงข้อมูลของไทย ประเด็นทางจริยธรรม/กฎหมายของการใช้ AI และการนำไปปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
- การแบ่งปันประสบการณ์จากไทย กัมพูชา และเวียดนาม เกี่ยวกับวิธีที่ภาคประชาสังคมและผู้ทรงสิทธิ์ใช้ในการผลักดันให้หน่วยงานสาธารณะที่รับผิดชอบจัดการการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะอย่างเปิดเผยและโปร่งใส
- สำรวจบทเรียนที่ได้รับสำหรับกัมพูชา เวียดนาม และไทย เพื่อปรับปรุงกฎหมายการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการบังคับใช้กฎหมาย โดยอ้างอิงถึงมาตรฐานสากลและบทเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน ในประเด็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด และการกำกับดูแลการใช้ AI
กำหนดการ
วันที่ 28 กันยายน 2022
เวลา: 14.00-17.00 น.
รูปแบบ: เสวนาออนไลน์
ภาษา: ไทยและอังกฤษ (มีล่ามแปลภาษา)
ลิงก์ลงทะเบียนออนไลน์: https://forms.gle/dgTP9V8PsJJ8vqab9
เวลา |
รายการ |
ผู้พูด |
14.00 –14.15 |
คำกล่าวเปิดงาน
|
H.E. Mr Remco van Wijngaarden (นายแร็มโก ฟัน ไวน์คาร์เดิน) เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประจำราชอาณาจักรไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
14.15 – 14.30
|
Keynote: รายงานแนวโน้มจากสถานการณ์การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกและบทเรียนที่ได้รับ |
Mr Joe Hironaka (นายโจ ฮิโรนากะ) ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและสารสนเทศ ยูเนสโก กรุงเทพฯ |
14.30 – 15.15 |
กรณีศึกษา: ความพยายามในการสร้างองค์กรสาธารณะให้มีภาระรับผิดชอบผ่านสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน กัมพูชา - การยกระดับคุณภาพการให้บริการ สาธารณะผ่านการเข้าถึงข้อมูล เวียดนาม - การปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูล เพื่อสิทธิของประชาชนต่อการเข้าถึงข้อมูลที่ดิน ไทย - การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลแบบเปิดเพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนมีบทบาททางการเมือง |
ผู้ดำเนินรายการ: อ.ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Ms. Ngo Thi Thu Ha, Director, The Center for Education Promotion and Empowerment of Women (CEPEW) นางสาวธนิสรา เรืองเดช, ผู้ก่อตั้ง, WeViIS (We visualize Data for Democracy) |
15.15 – 16.30 |
เสวนา: การสร้างองค์กรสาธารณะที่มีภาระรับผิดชอบและให้บริการที่ครอบคลุมทั่วถึงผ่านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดข้อมูลของประเทศไทย |
ผู้ดำเนินการเสวนา: รศ.ดร.ภูมินทร์ บุตรอินทร์ กรรมการจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สมาชิกสภาราษฎร พรรคก้าวไกล นายพงษ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ บรรณาธิการอาวุโส The MATTER นางภาวนา ฤกษ์หร่าย ผู้อำนวยการส่วนนโยบายและวิเคราะห์ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ |
16.30 – 16.50 |
คำกล่าวปิดงาน |
Mr Joe Hironaka (นายโจ ฮิโรนากะ) ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและสารสนเทศ ยูเนสโก กรุงเทพฯ |
รับชมการเสวนาย้อนหลัง